กระดาษสาจากกระดาษเหลือใช้
กระดาษสาจากวัสดุพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในธรรมชาติ เช่น
หญ้าคา สับปะรด หญ้าขน หญ้าปล้องแดง ตระไคร้ ใบของพืชชนิดเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนมองเห็นคุณค่า
ใบของพืชเหล่านี้สามารถนำมาใช้แทนปอสาที่นำมาทำกระดาษสาได้
จึงนำใบของพืชเหล่านี้มาผสมกับกระดาษที่ไม่ใช้แล้วปั่นจนละเอียดนำไปตากแห้ง
จะได้กระดาษสาที่เป็นแผ่นสวยงาม หรือถ้าอยากได้กระดาษสาที่มีสีสันสวยงาม
สามารถนำสีผสมอาหารมาเติมได้
และได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
“เศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง
การดำเนินชีวิตแก่พากนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจราณาดังนี้ กรอบแนวคิด
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในแนวทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโ,กเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มุ่งเน้นการรอดพ้นภัยจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
- ความพอประมาณ หมายถึง
ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารนาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
- การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
"ความพอเพียง" หมายถึง
ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร
เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง
ๆ มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน
ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล
แนวคิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง
สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล
โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม
หลักปรัชญา
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐาน คือ
ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อ ได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อย เสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการ เดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด... |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม
"3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง
ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน"
บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
การนำไปใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้
ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย
ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน
และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน
หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาลักษณะและโครงสร้างของกระดาษสา
2.เพื่อนำกระดาษสามาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อให้รู้วิธีการทำกระดาษสา
4.เพื่อศึกษาวัสดุทดแทนจากธรรมชาติที่นำมาทำกระดาษสาได้
สมมติฐาน
ถ้านำกระดาษเหลือใช้มาประยุกต์เป็นกระสาดังนั้นจะลดการซื้อกระดาษสา
ตัวแปร
ตัวแปรต้น กระดาษเหลือใช้
ตัวแปรตาม ลดการซื้อกระดาษสา
ตัวแปรควบคุม จำนวนกระดาษ, ส่วนผสมและผู้ทดลอง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถนำเอากระดาษสาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้กับชีวิตประจำวันได้
2.เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และศึกษา
วิธีการดำเนินงาน
1. วัสดุอุปกรณ์
2. วิธีการทดลอง
ผลดำเนินงาน
ตารางผลการทดลอง
|
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
จากการทำโครงงานสรุปได้ว่า เราสามารถนำกระดาษที่เหลือใช้มาทำสาที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
เพราะเนื่องจากในชีวิตประจำวันของเราต้องใช้กระดาษในการห่อของ ขวัญหรือนำมาทำเป็นหน้าปกห่อหนังสือต่างๆเพื่อความสวยงาม
อีกทั้งในปัจจุบันกระดาษสามีราคาแพงมากขึ้น ดังนั้นการทำกระดาษสาจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ตามทั่วไปในพื้นที่เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนต่างๆได้
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
- กระดาษที่ตากแล้วบางเกินไป
- อุปกรณ์ไม่คบ
แนวทางในการแก้ไข
- เพิ่มปริมาณกระดาษมากขึ้น
- จัดหาและเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ให้พร้อม
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
- ควรทำกระดาษสาหลายรูปแบบ
ประโยชน์ที่ได้รับในโครงงาน
- ได้รู้คุณค่าของกระดาษว่าเป็นสิ่งมีค่า
- นำไปเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจในการทำกระดาษสาที่ใช้จากกระดาษเหลือใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น